FIRE PUMP AND SYSTEMS

Fire Pump

MULTI-STAGE PUMPS

SyncroFlo Inc. is the first company to offer FM Approved multi-stage multi-outlet (MSMO) pumps. Using multiple impellers to generate more head than a single impeller, MSMO pumps are used in fire protection systems in most tall buildings including offices, hospitals and hotels.

SPLIT CASE PUMPS

FM/UL Thrustream Split Case Fire Pumps have been manufacturing fire pumps for over 135 years with one of the widest range of approvals of any manufactu rer in the world.

END SUCTION PUMPS

The protection of life is not a matter for compromise. This is particularly true for fire protection systems where theyare only as strong astheir’weakest link’and compromise may result in avoidable loss of life or property.

VERTICAL TURBINES

Experience gained from extreme environments such as off-shore oil & gas installations has led to the creation of the SyncroFlo FM/UL Vertical Turbine range of fire pumps approved for fire protection by FM Approvals and Underwriter Laborato ries and fully compliant to NFPA 20.

PREVENTIVE MAINTENANCE FIRE PUMP

  • ตรวจสอบสภาพEngine Fire Pump / Electrical Fire Pump / Jockey Pump
  • ตรวจสอบแผงควบคุมEngine Fire Pump / Electrical Fire Pump / Jockey Pump
  • ตรวจสอบสภาพแบตเตอรี่
  • ตรวจสอบแผงควบคุมบริเวณเครื่องยนต์
  • ตรวจสอบสภาพMain Relief Valve
  • ตรวจสอบการตัดต่อการทำงาน Engine Fire Pump / Electrical Fire Pump / Jockey Pump
  • ตรวจสอบสภาพการทำงานของPressure Gauge บริเวณด้านดูดและด้านจ่าย
  • ตรวจสอบความร้อนบริเวณPacking Box และตัวเรือนปั๊ม
  • ตรวจสอบสภาพOS&Y  Gate Valve / Check Valve / Automatic Air Vent
  • บำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ( Fire Pump Maintenance)
  • ทำความสะอาดTerminal และจุดต่อบริเวณต่างๆในตู้ควบคุม
  • เติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่
  • เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
  • เปลี่ยนถ่ายน้ำยาหม้อน้ำเครื่องยนต์
  • เปลี่ยนกรองอากาศ
  • อัดจารบีบริเวณลูกปืนและจุดหมุนต่างๆ
  • ทำความสะอาดPriming Tank (ถ้ามี)
  • ทำความสะอาดHeat Exchanger
  • ปรับตั้งGrand Nut ให้มีน้ำหล่อPacking Grand ในปริมาณที่เหมาะสม
  • ทำความสะอาดY-Strainer
  • เปลี่ยนPacking Grand
  • เปลี่ยนFlexible Joint บริเวณด้านดูดและด้านจ่ายเครื่องสูบน้ำ
  • เปลี่ยนFlexible Joint และConnecting ต่างๆที่เสื่อมสภาพ
  • เปลี่ยนสายพานเครื่องยนต์

ระบบ SPRINKLER SYSTEM

ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System) เป็นระบบดับเพลิงที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมเพลิงไหม้ได้ดีมาก และปัจจุบันมีการติดตั้งใช้กันแพร่หลายทั่วโลก เพราะสามารถควบคุมเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นได้ทันทีขณะที่เพลิงยังมีขนาดเล็ก ทำให้เพลิงไหม้หยุดการขยายตัวลุกลาม การเกิดควันไฟก็น้อยลงและเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่จำกัด ระบบนี้จะทำให้คนในอาคารมีเวลาเพิ่มมากขึ้นในการอพยพหนีไฟ ซึ่งหมายถึงชีวิตผู้ใช้อาคารจะมีความปลอดภัยจากอัคคีภัยมากขึ้นตามไปด้วย

ประเภทของระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Type of Automatic Sprinkler System)

  1. ระบบท่อเปียก (Wet Pipe System) ระบบนี้เหมาะสมที่จะใช้งานกับพื้นที่ป้องกันเพลิงไหม้ที่อุณหภูมิแวดล้อม (Ambient Temperature) ไม่ทำให้น้ำในเส้นท่อเกิดการแข็งตัว น้ำจากหัวกระจายน้ำดับเพลิงจะฉีดออกมาดับเพลิงทันทีที่เกิดเพลิงไหม้
  2. ระบบท่อแห้ง (Dry Pipe System) ระบบนี้เหมาะสมที่จะใช้งานสำหรับพื้นที่ป้องกันที่มีอุณหภูมิโดยทั่วไปต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ซึ่งทำให้เกิดการแข็งตัวของน้ำในเส้นท่อได้ โดยในระบบท่อจะมีการอัดอากาศเข้าภายในแทนน้ำ เหมาะสำหรับประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวจั
  3. ระบบท่อแห้งแบบชะลอน้ำเข้า (Pre Action System) ระบบนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ป้องกันที่ต้องการหลีกเลี่ยง การทำงานหัวกระจายน้ำดับเพลิงที่อาจผิดพลาด และก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรืออุปกรณ์ที่มีมูลค่าสูง เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
  4. ระบบเปิด (Deluge System) ระบบนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ป้องกันอัคคีภัยพิเศษ ที่ต้องการน้ำดับเพลิงในปริมาณมากออกจากหัวกระจายน้ำดับเพลิงแบบเปิด (Open Sprinkler) พร้อมกันทุกหัวซึ่งประเภทของระบบที่ใช้ที่จะกล่าวถึงในครั้งนี้ คือ ระบบท่อเปียกเนื่องจากเป็นระบบที่มีความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย

แบบทั่วไปของระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง

ระบบส่งน้ำดับเพลิง

ในการออกแบบและติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง สำหรับอาคารใด ๆ จะต้องพิจารณาถึงระบบส่งน้ำดับเพลิงที่น่าเชื่อถืออย่างน้อยหนึ่งระบบ ซึ่งจะต้องสามารถส่งน้ำดับเพลิงในปริมาณและความดันเพียงพอสำหรับดับเพลิงที่เกิดขึ้น ระบบส่งน้ำดับเพลิงที่สามารถนำมาพิจารณาเลือกใช้สำหรับการดับเพลิง เช่น เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดทำงานอัตโนมัติต่อกับแหล่งน้ำดับเพลิงถังเก็บน้ำสูง ถังน้ำความดันหรือท่อเมนสาธารณะที่มีความดันและปริมาณการไหลเพียงพอตลอดปี การหาปริมาณน้ำเพื่อใช้ในการดับเพลิงของระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง จะต้องนำพื้นที่ครอบครองของอาคารมาพิจารณาด้วยเสมอ ซึ่งการแบ่งแยกว่าเป็นพื้นที่ครอบครองประเภทใด จะขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงว่ามีอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ จำนวนมากน้อยเพียงใด ดังนั้นการแบ่งประเภทของพื้นที่ครอบครองสำหรับอาคารแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

  1. พื้นที่ครอบครองอันตรายน้อย (Light Hazard Occupancies) หมายถึง สถานที่ที่มีปริมาณเชื้อเพลิงและความสามารถในการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงต่ำ เช่น ที่พักอาศัย สำนักงานสถานศึกษา โรงพยาบาล ฯลฯ
  2. พื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง (Ordinary Hazard Occupancies)
    • พื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลางกลุ่มที่ 1 (Ordinary Hazard Group 1) หมายถึงสถานที่ที่มีเชื้อเพลิงที่มีความสามารถในการเผาไหม้ต่ำ ปริมาณของเชื้อเพลิงปานกลาง กองของวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงได้มีความสูงไม่เกิน 8 ฟุต เช่นโรงงานผลิตอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง ฯลฯ
    • พื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลางกลุ่มที่ 2 (Ordinary Hazard Group 2) หมายถึงสถานที่ที่มีปริมาณเชื้อเพลิงและความสามารถในการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงปานกลางถึงสูง กองของวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงได้มีความสูงไม่เกิน 12 ฟุต เช่น โรงงานผลิตสิ่งทอโรงงานกระดาษและผลิตเยื่อกระดาษ ฯลฯ
  3. พื้นที่ครอบครองอันตรายมาก (Extra Hazard Occupancies)
    • พื้นที่ครอบครองอันตรายมากกลุ่มที่ 1 (Extra Hazard Group 1) หมายถึงสถานที่ที่มีปริมาณเชื้อเพลิงและความสามารถในการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงสูงมาก มีฝุ่น หรือสารที่ทำให้เกิดการลุกติดของไฟ หรือวัสดุอื่นที่สามารถจะทำให้เกิดการลุกไหม้ได้อย่างรวดเร็วแต่ไม่มีสารไวไฟและสารติดไฟเช่นโรงงานผลิตไม้อัดและไม้แผ่น อุตสาหกรรมยาง ฯลฯ
    • พื้นที่ครอบครองอันตรายมากกลุ่มที่ 2 (Extra Hazard Group 2) หมายถึงสถานที่ที่มีปริมาณของสารไวไฟและสารติดไฟปานกลางถึงมากหรือสถานที่เก็บสารมีขนาดใหญ่ พื้นที่กลุ่มนี้จะมีลักษณะการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับของเหลวติดไฟ (Combustible Liquid) หรือของเหลวไวไฟ (Flammable Liquid) โดยตรง เช่น โรงพ่นสี โรงกลั่นน้ำมัน ฯลฯ
    • จากการกำหนดพื้นที่ครอบครองหาปริมาณและความดันของน้ำดับเพลิงที่ต้องการ เพื่อดับเพลิงที่เกิดขึ้นจะต้องพิจารณาถึง พื้นที่เท่าใดที่หัวกระจายน้ำดับเพลิงทำงานจริงหรือจำนวนเท่าใดที่หัวกระจายน้ำดับเพลิงถูกคาดการณ์ว่าจะแตกมากที่สุดและสามารถดับเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นได้ จากสถิติการเกิดอัคคีภัยในอาคารทั่วไป สามารถสรุปได้ว่าสำหรับอาคารที่ติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง ร้อยละ 94 ของอาคารเหล่านั้นสามารถควบคุมไฟไว้ได้ ด้วยหัวกระจายน้ำดับเพลิงที่แตกและส่งน้ำดับเพลิงออกมาจำนวน 25 หัว หรือน้อยกว่านั้นเพียงอย่างเดียวขนาดของพื้นที่ป้องกัน (Protection Area Limitations) ขนาดของพื้นที่ป้องกันสูงสุดสำหรับแต่ละพื้นที่ หรือแต่ละชั้นต่อระบบท่อเมนแนวดิ่ง (System Riser) หรือระบบท่อเมนร่วมแนวดิ่ง (Combined System Riser) ใดๆหนึ่งท่อให้เป็นไปตามตารางที่ 1 แสดงไว้ดังนี้

ดังนั้นถ้าหากอาคารสำนักงานต่างๆมีการออกแบบและติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System) ที่ดีมีประสิทธิภาพก็จะสามารถป้องกันและลดอันตรายจากการเสียชีวิตของพนักงานหรือเจ้าที่ในกรณีของการเกิดเหตุอัคคีภัยลงได้

ระบบ FIRE HOSE CABINET SYSTEM

มาตรฐานระบบดับเพลิงด้วยน้ำชนิดมีตู้สายฉีดน้ำดับเพลิง (Fire hose cabinet) มีรายละเอียดดังนี้

1. มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย วสท. 3002–51 ภาคที่ 5 มาตรฐานระบบดับเพลิง หมวด 6 ระบบท่อยืนและสายฉีดน้ำดับเพลิง ได้กำหนดรายละเอียดไว้ดังนี้

1.1 ประเภทของการใช้งาน ระบบท่อยืนและสายฉีดน้ำดับเพลิง แบ่งตามประเภทของการใช้งานได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1.1.1 ประเภทที่ 1 : ติดตั้งวาล์วสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 65 มิลลิเมตร สำหรับพนักงานดับเพลิงหรือผู้ที่ได้ผ่านการฝึกการใช้สายฉีดน้ำดับเพลิงขนาดใหญ่เท่านั้น

1.1.2 ประเภทที่ 2 : ติดตั้งชุดสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 25 มิลลิเมตร หรือ 40 มิลลิเมตร สำหรับผู้ใช้อาคารเพื่อใช้ในการดับเพลิงขนาดเล็ก

1.1.3 ประเภทที่ 3 : ติดตั้งชุดสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 25 มิลลิเมตร หรือ 40 มิลลิเมตร สำหรับผู้ใช้อาคารและวาล์วสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 65 มิลลิเมตร สำหรับพนักงานดับเพลิงหรือผู้ที่ได้รับการฝึกในการใช้สายฉีดน้ำดับเพลิงขนาดใหญ่

1.2 การจัดเตรียมระบบท่อยืน ให้จัดเตรียมระบบท่อยืนประเภทต่างๆ สำหรับอาคารหรือพื้นที่ตามที่ปรากฏในตารางที่ 1

1.3 สายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์

1.3.1 สายฉีดน้ำดับเพลิง (Fire hose): อาคารที่ติดตั้งท่อยืนประเภทที่ 2 และ 3 จะต้องจัดให้มีสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 25 มิลลิเมตร ยาว 30 เมตร หรือขนาด 40 มิลลิเมตร ยาว 30 เมตร

1.3.2 อุปกรณ์เก็บสายฉีดน้ำดับเพลิง (Hose reel or hose rack)

สำหรับสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 25 มิลลิเมตร จะต้องม้วนอยู่ในขนาด 40 มิลลิเมตร จะต้องจัดให้มีที่แขวนเก็บสายฉีดน้ำดับเพลิงหรืออุปกรณ์ดังกล่าว ทั้งหมดจัดวางให้สะดวกต่อการใช้ในตู้ดับเพลิง ต้องจัดให้มีป้ายแสดงถึงการใช้สายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ โดยแสดงเป็นรูปภาพและตัวอักษรที่มีขนาดเหมาะสมเห็นได้ชัดและเข้าใจง่าย

2. ตามคู่มือเทคนิคการตรวจสอบอาคารเพื่อความปลอดภัย (สำหรับตรวจสอบอาคารตามกฎหมาย) ภาคที่ 7 เทคนิคการตรวจสอบระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับตู้สายฉีดน้ำดับเพลิง (fire hose cabinet) ไว้ตามที่แสดงในรูปที่ 1 และมีรายละเอียดดังนี้

2.1 ต้องมีระยะห่างระหว่างตู้ไม่เกิน 64 เมตร

2.2 มีสายส่งน้ำดับเพลิง (fire hose)

2.3 มีวาล์วควบคุม เปิด–ปิดด้วยมือหรืออัตโนมัติ

2.4 มีหัวฉีดน้ำดับเพลิงแบบปรับการฉีดน้ำเป็นลำ เป็นฝอย และเป็นม่านได้ (jet–spray–steam)

2.5 มีป้ายสัญลักษณ์

3. ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2540) และฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ได้กำหนดรายละเอียดสำหรับอาคารประเภทต่างๆ ดังนี้

3.1 กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ได้กำหนดให้อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องมีการติดตั้งระบบดับเพลิงด้วยน้ำชนิดมีตู้สายฉีดน้ำดับเพลิง (fire host cabinet, FHC) ดังนี้

ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง

3.1.1 ทุกชั้นของอาคารต้องมีตู้สายฉีดน้ำดับเพลิง (FHC) ที่ประกอบด้วยหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงพร้อมสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร และหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงชนิดหัวต่อสวมเร็วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 65 มิลลิเมตร พร้อมทั้งฝาครอบและโซ่ร้อยติดไว้ทุกระยะไม่เกิน 64.00 เมตร และเมื่อใช้สายฉีดน้ำดับเพลิงยาวไม่เกิน 30.00 เมตรต่อจากตู้หัวฉีดน้ำดับเพลิงแล้วสามารถนำไปใช้ดับเพลิงในพื้นที่ทั้งหมดในชั้น

3.1.2 อาคารสูงต้องมีที่เก็บน้ำสำรองเพื่อใช้เฉพาะในการดับเพลิงและให้มีประตูน้ำปิด–เปิด และประตูน้ำกันน้ำไหลกลับอัตโนมัติด้วย

3.1.3 หัวรับน้ำดับเพลิงที่ติดตั้งภายนอกอาคารต้องเป็นชนิดข้อต่อสวมเร็วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 65 มิลลิเมตร สามารถรับน้ำจากรถดับเพลิงที่มีข้อต่อสวมเร็วแบบมีเขี้ยวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 65 มิลลิเมตร ที่หัวรับน้ำดับเพลิงต้องมีฝาปิด–เปิดที่มีโซ่ร้อยติดไว้ด้วย ระบบท่อยืนทุกชุดต้องมีหัวรับน้ำดับเพลิงนอกอาคาร 1 หัวและอยู่ใกล้หัวท่อดับเพลิงสาธารณะมากที่สุดพร้อมป้ายข้อความเขียนด้วยสีสะท้อนแสดงว่า “หัวรับน้ำดับเพลิง”

3.2 กฎกระทรวงฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2540) และฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ได้กำหนดให้อาคารสูงต้องมีระบบดับเพลิงด้วยน้ำชนิดสายส่งท่อน้ำดับเพลิง ดังนี้

ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง

3.2.1 อาคารขนาดใหญ่ต้องจัดให้มีระบบท่อยืน สายฉีดน้ำพร้อมอุปกรณ์หัวรับน้ำดับเพลิงชนิดข้อต่อสวมเร็วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 65 มิลลิเมตร เพื่อดับเพลิงได้ทุกส่วนของอาคาร

3.2.2 ส่วนอาคารทั่วไปที่มิใช่อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ มิได้มีการกำหนดรายละเอียดไว้

ชนิดของถังดับเพลิง

– ประเภท A เป็นสัญลักษณ์รูปตัว A ในสามเหลี่ยมสีเขียว, สามารถดับไฟที่เกิดจากของแข็งเช่น ฟืน ยาง ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติก หนังสัตว์ปอนุ่นด้ายและเชื้อประทุวิธีการดับเพลิงที่ดีที่สุดสำหรับเพลิงประเภทนี้คือการลดความร้อนโดยใช้น้ำฉีด

– ประเภท B เป็นสัญลักษณ์รูปตัว B ในสี่เหลี่ยมสีแดง, สามารถดับไฟที่เกิดจากของเหลวและแก๊สเช่นน้ำมันทุกชนิดสารโซเว้นแก๊สทินเนอร์ แอลกอฮอล์ ยางมะตอย จาระบี และก๊าซติดไฟทุกชนิด

– ประเภท C เป็นสัญลักษณ์รูปตัว C ในวงกลมสีฟ้า, สามารถดับไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็งหรือมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่เช่นอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด

– ประเภท D เป็นสัญลักษณ์รูปตัว D ในรูปดาว5 แฉก, สามารถดับไฟที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของโลหะ

– ประเภท K เป็นสัญลักษณ์รูปตัว K ในรูปหกเหลี่ยมสีดำ, สามารถดับไฟที่เกิดจากไขมันสัตว์หรือน้ำมันทำอาหาร

สารดับเพลิงที่ใช้อยู่ในถังดับเพลิงทั่วไปมี 5 ชนิดคือ

– ผงเคมีแห้ง: ดับได้เฉพาะแบบ A, B และ C

– คาร์บอนไดออกไซด์: ดับได้เฉพาะแบบA, B และ C

– โฟม (โฟมสะสมแรงดัน): ดับได้เฉพาะแบบ A และ B

– น้ำ (น้ำสะสมแรงดัน): ดับได้เฉพาะแบบ A

– น้ำยาเหลวระเหยฮาโลตรอน: ดับได้เฉพาะแบบ A (ต้องมีความชำนาญ), B และ C

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart